ข้อตกลงการใช้บริการ
ผู้ใช้บริการยินยอมผูกพันและปฏิบัติ ตามข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บริการดาวน์โหลดเอกสารกองทุนรวมผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนพรินซิเพิล จำกัด (“บริษัทจัดการ”) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
-
ผู้ใช้บริการเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) หรือกองทุนรวมอื่นใดที่อาจใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้ ที่บริหารจัดการโดยบริษัทจัดการ และมีเลขที่บัตรประชาชนในประเทศไทยเท่านั้น
-
ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการดาวน์โหลดเอกสารกองทุนรวมผ่านเว็บไซต์ได้เมื่อผู้ใช้บริการได้ระบุข้อมูลส่วนตัว ซึ่งตรงกับข้อมูลที่อยู่ในระบบทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนของบริษัทจัดการ
-
รายงานหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุน กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) หนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุน กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุน
กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) หรือหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมอื่นใดที่อาจใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้ หนังสือรับรองการขายคืนหน่วยลงทุนหุ้นระยะยาว (LTF) หนังสือรับรองการขายคืนหน่วยลงทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
หนังสือรับรองการขายคืนหน่วยลงทุนเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) หนังสือรับรองการขายคืนหน่วยลงทุนรวมอื่นใดที่อาจใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้ และหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นเพียงการแสดงยอดหน่วยลงทุนของผู้ใช้บริการ ณ ช่วงเวลาที่ปรากฏในรายงานเท่านั้น กรณีที่ปรากฏว่าข้อมูลในเอกสารรายงานหนังสือรับรองการถือครองหน่วยลงทุนที่ผู้ใช้บริการได้รับ ไม่ตรงกับข้อมูลในระบบทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ให้ถือว่าข้อมูลที่จัดเก็บที่ระบบทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริง
-
บริษัทจัดการสงวนสิทธิในการดาวน์โหลดเอกสารกองทุนรวมผ่านเว็บไซต์ ในกรณีที่ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการไม่ตรงกับข้อมูลในระบบทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน
-
เอกสารกองทุนรวมที่ดาวน์โหลดผ่านเว็บไซต์ไม่สามารถนำไปจำนำ หรือ โอนเปลี่ยนมือโดยวิธีใดทั้งสิ้น
-
รูปแบบ ลักษณะการดาวน์โหลดเอกสาร และการเข้ารหัสการเรียกดูเอกสารกองทุนรวม ให้เป็นไปตามรูปแบบที่บริษัทจัดการกำหนด และพิจารณาเห็นสมควร
-
บริษัทจัดการ สามารถเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการขอรายงานหนังสือรับรองการถือหน่วยลงทุนได้ตามแต่จะเห็นสมควร และบริษัทจัดการ มีสิทธิที่จะยกเลิกบริการดังกล่าวนี้ได้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือเฉพาะแต่ผู้ใช้บริการรายใดรายหนึ่งเมื่อใดก็ได้ โดยบริษัทจะแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้า
-
เงินได้ในกรณีขายคืนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ขายคืนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ขายคืนหน่วยลงทุนในกองทุนเพื่อความยั่งยืน หรือขายคืนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมอื่นใดที่อาจใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้
ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรตามมาตรา 40(8) ซึ่งผู้มีเงินได้จะต้องนำหนังสือรับรองฯ ฉบับนี้พร้อมเอกสารแนบ (ถ้ามี) แนบเป็นหลักฐานพร้อมกับยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90) ต่อกรมสรรพากร
เพื่อแสดงรายได้จากกำไรส่วนเกินทุนที่ได้รับจากการขายคืนหน่วยลงทุน ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นแบบ (ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้ขายคืนหน่วยลงทุน) ไม่ว่าผู้ถือหน่วยลงทุนจะขายคืนหน่วยลงทุนโดยได้รับสิทธิตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ในการลงทุนที่กรมสรรพากรกำหนดไว้หรือไม่ก็ตาม
-
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าวด้วย หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุนผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
และจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษี (เช่น การลงทุนตั้งแต่ปี 2559 ผู้ลงทุนจะต้องลงทุนใน LTF อย่างน้อย 7 ปีปฏิทิน)
-
PRINCIPAL APDIRMF กองทุนหลักลงทุนกระจุกตัวในประเทศสิงคโปร์ ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย
-
PRINCIPAL iPROPRMF กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ (Property Sector Fund) ดังนั้น หากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าว ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก
-
ผลตอบแทนในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
-
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน/ผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลของกองทุนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงาน ของกองทุนรวมที่เปิดเผยไว้ในแหล่งต่างๆ หรือให้ขอข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ ก่อนการตัดสินใจลงทุน
-
บริษัทจัดการใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุน (Hedging) ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน / กองทุนมีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ กองทุนอาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไร จากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าทุนเริ่มแรกได้
-
การลงทุนในหน่วยลงทุน มิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนคืนมากกว่าหรือน้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกก็ได้ ดังนั้น ผู้ลงทุนควรลงทุนในกองทุนนี้ เมื่อเห็นว่าการลงทุนในกองทุนรวมนี้ เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของผู้ลงทุน และผู้ลงทุนยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนได้
-
สำหรับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน และกองทุนรวมอื่นใดที่อาจใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้ ผู้ถือหน่วยลงทุน(ของกองทุนรวม) จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุนและเงื่อนไขที่กำหนดโดยกรมสรรพากรอย่างเคร่งครัดทุกประการ
ผู้ลงทุนจะต้องเก็บเอกสารการลงทุนในกองทุนรวมอย่างครบถ้วน เพื่อประโยชน์ทางภาษีของท่าน
-
ผู้ลงทุนโปรดศึกษาเงื่อนไขการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) / กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) / หน่วยลงทุนชนิดเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) หรือกองทุนรวมอื่นใดที่อาจใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้
ซึ่งเป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 357 (พ.ศ 2563) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 10 มีนาคม 2563 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 390 (พ.ศ. 2566) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2566
โดยเป็นไปตามเกณฑ์กรมสรรพากรกำหนด ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวน/หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ ให้เข้าใจและควรเก็บหนังสือชี้ชวนไว้เป็นข้อมูล เพื่อใช้อ้างอิงในอนาคต และเมื่อมีข้อสงสัยให้สอบถามผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนให้เข้าใจก่อนซื้อหน่วยลงทุน